กล่องกระดาษแข็งพรีเมี่ยม กับ โครงสร้างกล่องที่แข็งแรง

ขั้นตอนการผลิตกล่องจั่วปัง
กล่องจั่วปัง
ขั้นตอนการผลิตกล่องกระดาษแข็ง

กล่องจั่วปัง บ้านเรารู้จักคำนี้ที่เข้าใจได้ตรงกันเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของมัน กระนั้นก็ตาม ยังคงมีคนจำนวนมากอาจไม่รู้จักด้วยซ้ำว่า มันเป็นกล่องอะไรกัน อันที่จริง คำเรียกที่เป็นสากล หรือถูกต้องกว่า คือ กล่องกระดาษแข็ง ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “ Set-up Box หรือ Rigid Box ลักษณะทางกายภาพแล้ว ดูภายนอกมีความหนากว่ากล่องกระดาษแบบพับได้ประมาณ 3-4 เท่า หากท่านสนใจที่เรียนรู้เพิ่มเติมว่า เปรียบเทียบอย่างไร ลองอ่านเรื่อง ความแตกต่างระหว่างกล่องพับได้กับกล่องกระดาษแข็ง ที่นี่ครับ

บางท่านอาจสนใจเพิ่มเติมว่า แล้วผิวที่เห็นและที่เราต้องการจะพิมพ์หล่ะ ทำอย่างไร ขอเรียนอย่างนี้ครับ ผิวภายนอกที่เราเคยเห็นเป็นสีสรร หรือลวดลายบนกระดาษนั้น เกิดจากวัสดุผิวต่างหากอีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งอาจใช้กระดาษพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ต หรืออื่นใดที่รองรับการพิมพ์ภาพลงได้ ตลอดจนการแปรรูปอื่นๆ เช่น การเคลือบ การพิมพ์ทองเค การพิมพ์ปั้มนูน ปั้มจม หรือการพิมพ์ ยู.วี. เฉพาะจุด เป็นต้น

หากเป็นลวดลายกระดาษอัดลาย หรือวัสดุเลียนแบบ วัสดุสังเคราะห์ที่สามารถดัดแปลงมาใช้เป็นใบผิว เพื่อห่อหุ้มแกนกระดาษแข็ง ที่ขึ้นรูปเป็นกล่อง กล่องกระดาษแข็ง จึงไม่ค่อยเห็นการพิมพ์โดยตรง ลงบนตัวพื้นผิวของกระดาษแข็ง หรือกระดาษจั่วปัง (Greyboard) ดังสาเหตุที่ผมอธิบายข้างต้น ดังนั้น จึงขออธิบายเชิงกายภาพ ส่วนสีสรรภายนอกของกล่องกระดาษแข็ง เป็นเกร็ดความรู้เล็กน้อยอย่างนี้ครับ

• อุปสรรค ปัญหาที่เกิด

กล่องจั่วปัง หรือกล่องกระดาษแข็ง มีมาช้านานแล้ว แต่สมัยก่อนยังไม่มีเครื่องจักรในการห่อหุ้มผิวนอก การผลิตจึงเป็นการห่อหุ้มด้วยการประกอบมือเป็นหลัก ซึ่งมักมีปัญหาหลักๆ อยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อมีการผลิตจำนวนมาก ต้องใข้ระยะเวลายาวนาน ต้องใช้ทักษะงานฝีมือที่มีความละเอียดอ่อน และความชำนาญของผู้ผลิต และแรงงานจำนวนมาก

ซึ่งแน่นอนว่า การทำงานด้วยแรงงานฝีมือย่อมมีความไม่สม่ำเสมอและความประณีตในการทำงานลดลง และมีข้อบกพร่องมากมาย เช่น การเกิดรอยย่น รอยยับ รอยเป็นฟองอากาศ เกิดเป็นรอยคลื่นไม่เรียบ หรือเป็นตะปุ่มตะปํ่า เหล่านี้เป็นต้น ผลสืบเนื่องตามมาจากการทำงานระยะยาว เกิดความเบื่อหน่าย เหนื่อยล้า ความใส่ใจละเอียดอาจถูกละเลยได้

เมื่อถึงขั้นตอนตรวจสอบคุณภาพ งานกล่องที่ถูกผลิตและมีตำหนิ จะถูกคัดออก กลายเป็นความสูญเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายดำเนินการ ไหนจะต้องทำเพิ่มเพื่อทดแทน นั่นก็ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น หากเล็ดลอดการตรวจสอบจากโรงงานผู้ผลิต เมื่อส่งมอบงานไปถึงลูกค้าและหากเกิดการสุ่มตรวจสอบพบข้อตำหนิหรือไม่ผ่านคุณสมบัติในการรับของ ก็อาจถูกตีของคืน ปฏิเสธการรับของอีก นี่ก็เสียหายอีก

• การแก้ไขที่บริษัทของเราได้กระทำและผ่านพ้นมา

บริษัทฯ ของผู้เขียนได้ผ่านยุคสมัยดังกล่าวมาแล้ว ต่อมา จึงมีการนำผลิตเครื่องจักรเฉพาะทางเข้าช่วยทำงาน ช่วยให้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้รับการแก้ไขและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ปัจจุบันเราผลิตกล่องกระดาษแข็ง ด้วยเครื่องจักรเกือบทั้งระบบแล้ว และคาดว่าจะเป็นระบบอัตโนมัติสมบูรณ์ในอีกไม่ช้า เพื่อยกระดับการผลิตให้มีความเป็นสากล ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น รองรับคำสั่งการผลิตในปริมาณมาก ร่นเวลาการส่งมอบกล่องที่ผลิตเสร็จได้เร็วขึ้น ตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างทันท่วงที ปัจจุบันกล่องโทรศัพท์ไอโฟน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าคุณภาพสูงที่เราพบเห็นกัน หลายๆ แบรนด์จะใส่สินค้าของตน ในบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษแข็งกันแล้ว ซึ่งสะท้อนความเป็นสินค้าระดับไฮเอนด์ และมีคุณภาพสูง นอกจากนี้ในหมวดขนมหวาน เช่น ช๊อคโกแลตที่มีตราสินค้าชื่อดังหลายแห่ง ก็ใช้บรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษเหล่านี้เป็นสื่อในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ด้วยเช่นกัน

We learn from our own experiences from manual assembly to machine production which gives better accuracy to the output. Whether consistency the smoothness of the cover wrapping, resulting in significant reduction losses, and able to produce quality boxes approved.

Nowadays, we use machines to produce rigid boxes throughout the system. Therefore allowing us to support mass production, can be delivered quickly. This type of box is likely to be more popular in the future certainly.

tag : #greyboard, #Greyboard, #Grey Board, #rigidbox, #Rigidbox, #RigidBox, #Casebox, #casebox, #SetupBox, #Set-upBox, #setupbox, #setup box, #กล่องจั่วปัง, #กล่องกระดาษแข็ง, #กระดาษแข็งสีเทา, # กระดาษจั่วปัง, #กระดาษเกรย์บอร์ด, #กล่องจั่วปังหุ้มด้วยกระดาษอัดลาย, #กล่องจั่วปังหุ้มด้วยกระดาษเคลือบผิวอย่างดี, #กล่องกระดาษแข็งหุ้มด้วยกระดาษอัดลาย, #กล่องกระดาษแข็งหุ้มด้วยกระดาษเคลือบอย่างดี, #ผลิตกล่องจั่วปัง, #ผลิตกล่องจั่วปังที่ไหนดี, #ผลิตกล่องกระดาษแข็งที่ไหนดี, #ผลิตกล่องกระดาษแข็ง, #รับผลิตกล่องจั่วปัง, #รับผลิตกล่องกระดาษแข็ง, #รับผลิตขาตั้งปฏิทินตั้งโต๊ะ, #ขาตั้งปฏิทินตั้งโต๊ะ, #ปกแฟ้มติดสันเหล็ก, #งานหุ้มปกแข็งจั่วปัง,

โรงงานผลิตกล่องกระดาษจั่วปังระดับมืออาชีพ มั่นใจได้ในคุณภาพการผลิต ราคา และไม่ต้องรอนานในการสั่งผลิต สามารถติดต่อเองโดยตรง ไม่ต้องผ่านคนกลาง สอบถามได้ที่ Line Business : @rigidboxmaker และ/หรือ @rigidbox โทรโดยตรงที่คุณอนันต์ 0816128662 คุณจิตรา โทร. 0869734123

กล่องในโลกของบรรจุภัณฑ์ประเภทกระดาษ

กล่องกระดาษแข็ง

กล่องกระดาษแข็ง

สําหรับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ความยุ่งยากแก่การทำความเข้าใจสำหรับผู้ที่ต้องการจะใช้งานกล่องต่างๆ นั่นเป็นเหตุให้เกิดความยุ่งยากมากมายไม่ว่าจะสั่งผลิต สั่งซื้อ หรือด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม การเรียกขานหรืออธิบายด้วยการจะสื่อความหมายของตนแก่ผู้ผลิตเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายจริงๆ โดยเฉพาะหากพูดถึงเรื่อง “ กล่อง “ ดังนั้น แอดมินเขียนโพสนี้ขึ้น เพื่ออธิบายนิยาม รูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์เหล่านี้กันครับ ได้แก่

  • Folding Cartons | กล่องแบบพับได้
  • Rigid box/ Set-up box | กล่องกระดาษจั่วปัง
  • Corrugate box | กล่องลูกฟูก

หรือแม้กระทั่งการเลือก “ กล่อง “ ให้เหมาะกับการใช้งานของคุณให้อ่านกันครับ

อย่างไรก็ดี แอดมินจะพยายามพูดเป็นภาษาคน แบบบ้านๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นนะครับ เกี่ยวกับสามรูปลักษณ์ของมัน เบื้องต้นเราจำกัดขอบเขตกันสักนิดว่า เราพูดถึงเรื่อง “ รูปแบบ “ ชนิดที่เป็นกระดาษเท่านั้น (ก่อน) เพื่อจะได้ไม่แตกหน่อแตกเหล่าออกไปไกลจนกู่ไม่กลับ

1] (Folding Cartons) หรือ กล่องแบบพับได้

บางทีเรียกว่า Paperboard Cartons หรือ Paperboard box นั้น รวมแล้วเรียกว่า มันเป็นชนิดเดียวกัน พบเห็นได้ทั่วไปตามร้านสะดวกซื้อ ตามชั้นวางสินค้าในห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต มันอยู่รอบตัวเราจริงๆ แอดมินเรียกกล่องเหล่านี้ (โดยความรู้สึกส่วนตัวของผู้เขียนว่า กล่องยาน้ำแก้ไอ เหมือนผู้ใหญ่ที่นับถือท่านนึงเคยเปรียบเปรย ที่มีความเป็นสามัญธรรมดามากๆ ว่า กล่องขนมครก) ในบางเว็บเอ่ยอ้างว่า ราคาพิมพ์แสนถูก เจ้านี่แหละ เรียกว่า “ กล่องกระดาษแบบพับได้

กล่องกระดาษแข็ง

2] (Rigid box) กล่องกระดาษแข็ง หรือ กล่องจั่วปัง

ชื่อมันก็บอกอยู่ทนโท่นะครับ ว่า “ กล่องกระดาษแข็ง ” ภาษาอังกฤษเรียกว่า Rigid box (Set-up box) อ่านความหมายที่ละเอียดได้จากหน้าเว็บของแบรนด์ของผมเลยครับ และเป็นธุรกิจหลักของผมอีกด้วยครับ ( แอดมินขออนุญาตเคลมหน่อยว่า บริษัทผลิตกล่องกระดาษแข็งของเราเป็นมืออาชีพด้านนี้อย่างแท้จริง ซึ่งเรามีการใช้เครื่องจักร เทคโนโลยีและความรู้ในเชิงโครงสร้างและการจัดการที่ก้าวหน้าปัจจุบันที่สุดขณะนี้ ) ตามนิยามศัพท์หรือลักษณะแล้ว ไม่ควรจะพับได้แบบหัวข้อแรก แต่ในที่สุด ด้วยวิธีการออกแบบฉลาดๆ และแยบยล ทำให้ เดี๋ยวนี้กล่องกระดาษแข็งสามารถพับได้แล้ว (ไว้แอดมินจะโพสรูปที่บริษัทเราผลิตให้ดู) โดยมากแล้ว มักจะใช้กับสินค้าระดับหรู พรีเมี่ยม แต่อย่างไรก็ดี ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของสินค้าชอบหรือไม่ หรือยอมจ่ายเพื่อซื้อหา กล่องแบบนี้หรือไม่ และมักจะพบว่า มีการใข้บรรจุสินค้าที่มีน้ำหนัก มีมูลค่าสูงและต้องการการปกป้องอย่างมาก ขณะเดียวกันก็ให้ความรู้สึกถึงคุณค่าสินค้าข้างในว่าต้องมีมูลค่า มีราคาแน่นอน ยกตัวอย่าง กล่องใส่โทรศัพท์ไอโฟน ซึ่งเป็นกรณีตัวอย่างที่พูดถึงก็เห็นภาพได้เลย

กล่องกระดาษแข็ง
กล่องจั่วปังที่หุ้มด้วยแผ่นหุ้มผิวนอก
กล่องกระดาษแข็ง

3] (Corrugated box) กล่องลูกฟูก

สำหรับกล่องชนิดนี้ ไม่เป็นที่แปลกหูแปลกตาสำหรับพวกเราแน่นอน สามารถพบได้ในแทบทุกผลิตภัณฑ์ที่เราซื้อหา ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ทีวี ตู้เย็นหรือกล่องที่ใช้บรรจุสิ่งของเวลาเราขนย้ายสำนักงาน หรือย้ายบ้าน (สำหรับผมมีประสบการณ์แบบนี้ดี ในต่างประเทศก็เป็นแบบนี้แทบทั้งนั้น) แต่สำหรับบ้านเรานี่ สมัยใหม่เดี๋ยวนี้น่าจะพบเห็นได้บ่อยๆ แล้ว กล่องลูกฟูก ตามรูปลักษณ์ภายนอกที่เห็นจะประกอบไปด้วยกระดาษสามชั้น คือ ชั้นบนและล่างเป็นแผ่นผิว ส่วนตรงกลางจะเป็นลอนกระดาษที่ถูกบด เหมือนที่ปิ้งปลาหมึกตากแห้ง แล้วเข้าเครื่องบดยืดออกให้บางและคลายความเหนียว ลักษณะเป็นลอนของกระดาษลูกฟูกก็คล้ายๆ แบบนี้

กล่องกระดาษแข็ง

ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ กล่องลูกฟูก มักจะทำหน้าเป็นผู้ปกป้องผลิตภัณฑ์ชั้นนอกสุด และถูกใช้เป็นผู้นำส่งผลิตภัณฑ์ไปยังปลายทางหรือสู่ผู้บริโภคในที่สุด จัดเป็นผู้พิทักษ์ ผู้ปกป้อง ผู้นำส่งสินค้าจากต้นทางผู้ผลิตไปยังปลายทางที่เป็นผู้รับหรือผู้ใช้สินค้าอย่างแพร่หลายทั่วโลกเลยทีเดียว
นอกจากนี้ ยังถูกนำมาดัดแปลงใช้ในรูปแบบต่างๆ อย่างชาญฉลาด ด้วยคุณลักษณะที่แข็งแรงเมื่อถูกพับขึ้นรูปทรง ใช้เป็นขาตั้ง ชั้นวางสำหรับแสดงสินค้า หรือเป็นแผ่นป้ายแกนสำหรับติดแผ่นพิมพ์ขนาดใหญ่ และอื่นๆ อีกมากมาย

สรุปประเด็นกัน หลังจากอ่านบทความบรรยายแบบบ้านๆ ของผมข้างบนกันแล้วว่า รูปลักษณ์ของกล่องกระดาษที่ผมเขียนบทความนี้ ได้แก่

Paperboard box หรือกระดาษที่ใช้ทำกล่อง มีความแข็ง มาปรับปรุงด้วยการปั้มอัด ตัดเป็นรูปทรงที่มีรอยพับ สำหรับขึ้นรูปทรง เราพบเห็นได้แทบทุกแห่งรอบตัวเรา ซึ่งผมเรียกกล่องลักษณะเหล่านี้ว่า กล่องยาน้ำแก้ไอ (หมายความว่า นึกถึงยาน้ำแก้ไอสมัยเด็กๆ เวลาเราไม่สบายและหมอจ่ายยาให้ หรือคุณแม่พวกเราซื้อจากร้านขายยามาให้เรารับประทาน)
ให้ลองนึกภาพกล่องใส่โทรศัพท์ไอโฟน นั่นแหล่ะครับ กล่องกระดาษแข็ง
ลังเบียร์ นั่นแหละ นึกง่ายๆ ก็เข้าใจได้เลย เรียกให้ถูกคือ กล่องลูกฟูก

Tags : #ผลิตกล่องกระดาษแข็ง, #กล่องจั่วปังสำเร็จรูป, #สั่งผลิตกล่องจั่วปัง, #กล่องจั่วปังราคาโรงงาน, #กล่องจั่วปังราคาส่ง, #รับทำกล่องBoxsetหนังสือ, #กล่องฝาครอบทรงยาว, #กล่องใส่หนังสือนิยาย, #กล่องของขวัญฝาครอบ, #กล่องกระดาษจั่วปังสำเร็จรูป, #ขนาดกระดาษจั่วปัง, #กระดาษจั่วปัง, #ความหนาของกระดาษจั่วปัง, #กระดาษจั่วปังซื้อที่ไหน, #กระดาษจั่วปังคือ, #กล่องกระดาษแข็งฝาครอบ, #กล่องสินค้าพรีเมี่ยม, #กล่องกระดาษแบบคงรูป, #โรงงานผลิตกล่องกระดาษแข็ง, #กล่องกระดาษแข็งแบบพับได้, #กล่องกระดาษแข็งฝาครอบราคา,

สนใจผลิตติดต่อคุณ ไมเคิล อนันต์ 0816128662 LineOA: @rigidbox และ/หรือ คุณจิตรา 0869734123 LineOA: @rigidboxmaker

#rigidbox, #setupbox, #premiumbox, #greyboard, #bookboxstyle, #claimshellboxstyle, #casebox, #กล่องกระดาษแข็ง, #กล่องจั่วปัง,#กล่องพรีเมี่ยม, #กล่องหรู, #กล่องน้ำตาล, #กล่องของขวัญ, #กล่องโทรศัพท์มือถือ, #กล่องไอโฟน, # กล่องโทรศัพท์ซัมซุง, #กล่องโทรศัพท์เซียวมี่, #กล่องโทรศัพท์มือถือ, #กล่องโทรศัพท์เสี่ยวมี่, #รับทำกล่องจั่วปัง, #รับผลิตกล่องจั่วปัง, #กล่องกระดาษจั่วปัง, #ผลิตกล่องจั่วปัง, #โรงงานผลิตกล่องจั่วปัง, #กล่องจั่วปังราคา, #ผลิตกล่องกระดาษแข็ง, #กล่องกระดาษพรีเมี่ยม, #กล่องจั่วปังแม่เหล็ก

ลักษณะเชิงโครงสร้าง

รูปแบบการจั่วปังเพื่อหุ้มเป็นงานต่างๆ

โครงสร้างของกระดาษจั่วปัง แผ่นกระดาษแข็งจั่วปังนี้จะถูกผลิตเป็นแผ่น พื้นฐานที่ความหนาอยู่ประมาณสามความหนา ได้แก่ ความหนาของเบอร์ 8, 10, 12, 16 ตามลำดับ หากเบอร์ที่เพิ่มขึ้น (ข้อสังเกตมักจะเพิ่มในลักษณะเท่าตัว) นั่นก็หมายถึงความหนา/ความแข็งที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเบอร์ที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่เบอร์ 20 ขึ้นไปเกิดจากการใช้เบอร์ 10 สองแผ่นปะกบกัน เบอร์ 24 เกิดจากเบอร์  12 สองแผ่นปะกบกัน เป็นต้น ส่วนความหนาอื่นๆ ก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน เช่น ที่ประเทศจีน บางโรงงานอาจมีการผลิตแผ่นหนาชั้นเดียว ซึ่งทำให้กระดาษแข็งมีความแกร่งดี และมีทั้งชนิดที่ปะกบกันตั้งแต่สองชั้นขึ้นไป มีการใช้กระดาษอื่นมาปะกบร่วมทำเป็นผิว เพื่อความเรียบเนียนด้านหนึ่ง ปกติมักใช้เป็นผิวด้านในของกล่อง เช่น การใช้กระดาษกล่องมาปะกบเป็นผิวหนึ่งด้าน หรือกระดาษชนิดพิเศษมาปะกบเป็นผิวหนึ่งด้าน นอกจากนี้ ยังมีการใช้เยื่อที่ถูกย้อมเป็นสีทึบ เช่น สีดำ มาทำเป็นกระดาษแข็งสีดำด้วย ในประเทศไทยยังไม่มีโรงงานใด ทำกระดาษแข็งลักษณะพิเศษดังกล่าว หากมีความต้องการ ผู้ผลิตกล่องกระดาษแข็งต้องจัดทำเองเป็นกรณีพิเศษหรือตามความต้องการของลูกค้า

thickness of greyboards
ความหนาของกระดาษแข็ง | thickness of greyboards

ตามลักษณะการใช้งาน
เรามักพบเห็นการใช้กระดาษแข็งจั่วปังเบอร์ 8 จนถึงเบอร์ 10 ใช้พิมพ์หรือผลิตเป็นแผ่นป้ายแขวน ป้ายราคา ในขณะที่เบอร์ 12, 16 มักจะเห็นนำมาผลิตเป็นขาตั้งแป้นปฏิทินตั้งโต๊ะ หรือติดแผ่นป้ายโฆษณา เบอร์ 20, 24 มักจะเห็นนำไปทำเป็นปกหนังสือปกแข็ง หรือแผ่นปกสำหรับประกาศนียบัตร ปริญญาบัตรต่างๆ ที่เห็นหุ้มด้วยผ้าไหมหรือผ้าสังเคราะห์แบบต่างๆ นั้นแหล่ะ ด้วยเหตุนี้ ความหนาที่เป็นคุณสมบัติของมัน ก็ถูกนำมาทำเป็นกล่องกระดาษแข็ง แล้วหุ้มด้วยกระดาษพิมพ์ลายกราฟิค กระดาษแฟนซีสวยๆ ต่างๆ เพื่อให้เกิดความสวยงาม เป็นต้น เบอร์ที่หนาขึ้นก็มีการนำไปใช้ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น อาจนำไปผลิตเป็นกระเป๋า (กระดาษแข็ง) เอกสาร หรือ ปกแฟ้มกันเลย นอกจากนี้ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ นักคิด นักออกแบบอื่นๆ ก็อาจกำหนดให้กระดาษแข็งจั่วปังเป็นไส้ใน แล้วห่อหุ้มด้วยวัสดุที่เลือกสรร ประกอบกันขึ้นเป็นผลิตภัณฑ์แบบต่างๆ เช่น เป็นกล่องกึ่งปกแฟ้ม หรือ กล่องบรรจุเหล้า เครื่องดื่มสุราที่มีแบรนด์ มีตราดัง ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าหรู เป็นต้น

ซึ่งคุณสมบัติที่หนาแข็งแรงนี้ ทำให้เกิดเป็นโครงสร้างภายใน หรือไส้ในที่แข็งแรง เพียงพอที่จะปกป้องสินค้าที่มีความบอบบาง หรือชำรุดแตกหักได้ง่ายได้ดี ด้วยการออกแบบถาดรับ หรือชิ้นวางที่กระชับ แข็งแรง สามารถโอบอุ้มและป้องกันสินค้าภายในได้อย่างเหมาะสม ในขณะที่ตัวหุ้มผิวนอก ก็อาจใช้วัสดุที่ปรับแต่งให้สวยงาม เช่น กระดาษที่พิมพ์ไว้อย่างสวยงาม หรือวัสดุสังเคราะห์ที่มีความเหนียวหยุ่น ทนทาน มาหุ้มเพื่อให้เกิดความสวยงาม ทำให้ได้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ดูดี มีความหรู และทำให้ภาพลักษณ์ของสินค้ายกระดับความมีคุณค่าได้อีกด้วย

การใช้จั่วปังเข้ากับรูปแบบงานต่างๆ
โครงสร้างของกระดาษจั่วปัง ที่ใช้ในงานประเภทต่างๆ
โครงสร้างของกระดาษจั่วปัง ที่ใช้ในงานประเภทต่าง ๆ | Greyboard usages

จากที่แอดมินนำเสนอตั้งแต่บทความที่แล้ว กระดาษจั่วปัง คือ อะไร และมาต่อในเครื่องลักษณะเชิงโครงสร้างมาพอสังเขปแล้ว ใน หัวข้อตามลักษณะการใช้งาน ดังกล่าวเป็นเพียงสิ่งที่เราได้พบได้เห็นเป็นส่วนใหญ่เรื่องการใช้งานในบ้านเราเท่านั้น อันที่จริง ยังมีรูปแบบอีกหลายประการที่แอดมินได้เขียนเกริ่นไว้ในหัวข้อที่แล้ว ซึ่งยังมีอีกหลายรูปแบบที่บางครั้งมีการนำมาใช้ แต่ไม่ได้ถูกกล่าวถึงมากนัก เช่น การใช้เป็นแผ่นปกหลังของสมุดโน๊ตหรือสมุดสเก็ตซ์ภาพ (แหน่ะ นึกออกแล้วใช่ไม๊ล่าาาา) แม้มันจะดูด้อยค่า แต่ในบางกรณีก็ไม่อาจขาดมันไปได้

ด้วยเหตุที่โครงสร้างของมันแข็งแรงนี้เอง จึงได้มีการนำมาใช้ หนึ่ง – ตัดเป็นรูปต้นแบบบ้าน สิ่งปลูกสร้างอาคารโรงงาน หรือ สอง – สร้างต้นแบบสินค้าบางประเภทอีกด้วย

ความเป็นมาดั้งเดิม เกรย์บอร์ดหรือที่เรากระดาษจั่วปัง เดิมทีทำมาจากเส้นฟางและเรียกว่า Strawboard มันยังถูกเรียกว่า unlined chipboard, millboard หรือ containerboard คำว่า “ Greyboard “ นี้ชาวดัตช์เป็นผู้นิยามศัพท์คำนี้ ในปัจจุบันนี้คำศัพท์คำนี้ เป็นที่รู้จักและใช้เรียกกระดาษชนิดนี้ว่า Greyboard

แล้วมันยังใช้ทำอะไรได้อีก

เครื่องเขียน (Stationery)

ดังที่แอดมินได้ยกตัวอย่าง การใช้เป็นแผ่นปกหลังของสมุดโน๊ตหรือสมุดสเก็ตซ์ภาพ ด้วยเหตุที่ว่าเป็นวัสดุที่ราคาไม่แพง เป็นของเหลือใช้ ที่ถูกนำมาใช้เป็นแผ่นรอง บางครั้งก็ทำเป็นปกหน้า หรือทั้งปกหน้าและปกหนัง ยังมีก็คือ นำมาทำเป็นส่วนประกอบแกนในของหนังสือหรือสมุดปกแข็ง แกนในของขาตั้งปฏิทินตั้งโต๊ะ

หลอดสำหรับใส่เอกสารส่งไปรษณีย์หรือม้วนกระดาษชำระ

ด้วยความที่ดูเป็นของไม่มีราคา ด้อยค่า มันจึงถูกแปลงมาใช้เป็นส่วนประกอบที่ไม่สำคัญสำหรับสินค้าบางประเภท เมื่อใช้เสร็จพร้อมที่จะถูกทิ้งได้ตลอด ของเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องใช้วัสดุ ไม่จำเป็นต้องพิมพ์หรือเน้นคุณภาพแต่อย่างใด

บรรจุภัณฑ์

สำหรับเป็นเยื่อในการผลิตกระดาษสำหรับแปรรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ เช่น กระดาษกล่อง และกระดาษจั่วปัง ที่เรากล่าวถึงในโพสที่แล้ว ฯลฯ ซึ่งภายหลัง กล่องที่ใช้กระดาษจั่วปังเป็นแกนใน เมื่อห่อหุ้มภายนอกอย่างสวยงาม กลายเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ดูดีและประสบความสำเร็จอย่างสูงในโลกบรรจุภัณฑ์ประเภทกระดาษปัจจุบัน กล่องใส่โทรศัพท์ไอโฟน เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดที่ประสบความสำเร็จในการใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อีกหลายชนิดของสินค้าภายใต้แบรนด์ Apple อีกด้วย นอกจากนี้ ยังอาจเห็นในรูปเป็นแผ่นรองสำหรับงานศิลปะต่างๆ แผ่นป้ายแขวน แผ่นป้ายแสดงสินค้า เป็นต้น

การสร้างต้นแบบร่าง

ไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ใช้เป็นต้นแบบร่างของรูปทรงอาคาร สิ่งปลูกสร้างหรือแบบจำลองโครงสร้างทางวิศวกรรมอีกหลายๆ อย่างเช่น รางรถไฟ หรือรูปจำลองรถยนต์ เป็นต้น

รูปแบบใหม่ในโลกปัจจุบันที่กระดาษเกรย์บอร์ด หรือ กระดาษจั่วปังถูกนำมาประยุกต์ใช้

แกนกระดาษแข็ง ซึ่งมีความหลากหลายขนาดเส้นผ่าศูนย์ และความหนา ขึ้นอยู่กับว่า จะถูกใช้เป็นแกนสำหรับพันวัสดุหรือสินค้าอะไร เช่น
• สื่อน้ำมัน หรือ พรมถัก พรมทอ
• ฟิลม์ห่อหุ้มอาหาร หรือ ฟิลม์สำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรมการห่อหุ้ม
• หลอดสำหรับส่งไปรษณีย์ หรือ บรรจุภัณฑ์หลอดกระดาษแข็ง
• ฉลากชนิดม้วน
• พันผ้าที่ทอเป็นม้วนยาว หรือเมื่อถูกพิมพ์ลายเสร็จแล้ว
• ฯลฯ

ขอบกันกระแทก (Edge Protection)
• กันความเสียหายจากการขนส่ง
• เพื่อปกป้องตัวบรรจุภัณฑ์ภายนอกบริเวณมุม
• สำหรับสินค้าที่เป็นทรงกระบอกด้วยการป้องกันส่วนขอบบน และขอบล่าง
• แทนแผ่นกันความชื้น ใช้รองรับกล่องผลไม้ / ผัก / สลัด เพื่อเพิ่มการป้องกันน้ำค้าง / ฝน สินค้าที่จะถูกเก็บรักษาหรือผลิตในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ที่มีความชื้นสูง เช่น สวนเกษตรหรือเรือนเพาะชำ ผลิตภัณฑ์นี้จะช่วยสนับสนุนโครงสร้างและความแข็งแกร่งของขอบสินค้า

tags: #greyboard, #Greyboard, #Grey Board, #rigidbox, #Rigidbox, #RigidBox, #Casebox, #casebox, #SetupBox, #Set-upBox, #setupbox, #setup box, #กล่องจั่วปัง, #กล่องกระดาษแข็ง, #กระดาษแข็งสีเทา, # กระดาษจั่วปัง, #กระดาษเกรย์บอร์ด, #กล่องจั่วปังหุ้มด้วยกระดาษอัดลาย, #กล่องจั่วปังหุ้มด้วยกระดาษเคลือบผิวอย่างดี, #กล่องกระดาษแข็งหุ้มด้วยกระดาษอัดลาย, #กล่องกระดาษแข็งหุ้มด้วยกระดาษเคลือบอย่างดี, #ผลิตกล่องจั่วปัง, #ผลิตกล่องจั่วปังที่ไหนดี, #ผลิตกล่องกระดาษแข็งที่ไหนดี, #ผลิตกล่องกระดาษแข็ง, #รับผลิตกล่องจั่วปัง, #รับผลิตกล่องกระดาษแข็ง, #รับผลิตขาตั้งปฏิทินตั้งโต๊ะ, #ขาตั้งปฏิทินตั้งโต๊ะ, #ปกแฟ้มติดสันเหล็ก, #งานหุ้มปกแข็งจั่วปัง,

กระดาษจั่วปัง คืออะไร

type of greyboard

กระดาษจั่วปังคือ กระดาษที่ถูกใช้งานพิมพ์ เขียนและผ่านใช้งานมาแล้ว เมื่อถูกทิ้งเป็นเศษกระดาษจากแหล่งต่างๆ ถูกรวบรวมและนำมาใช้เป็นวัตถุดิบของโรงงานผลิตกระดาษจั่วปังนำมาแปรรูป พื่อนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง เรียกกระบวนการนี้ว่า “ การรีไซเคิล (Recycle) “ การนำกระดาษที่ผ่านการใช้งานนี้มาปรับแต่งด้วยการแช่น้ำ บด ปั่นแหลก ให้เป็นอณูชิ้นเล็กที่สุด เพื่อกำจัดพื้นผิวภายนอก เช่น เคมี หมึก น้ำยาต่างๆ แล้วกรองออก เหลือเอาเพียงเยื่อกระดาษ ที่ผ่านการแช่น้ำจนยุ่ยแล้วนำเอาเยื่อเหล่านี้มาปรับใส่สารเติมแต่งบางอย่างเพื่อให้มีความคงตัวเพิ่มและแข็งตัวได้ นำมาผลิตเป็นกระดาษเพื่อการใช้ซ้ำอีกครั้ง มักจะเห็นเป็นแผ่นกระดาษแข็งๆ สีเทาๆ นั่นแหละครับ กระดาษแบบนี้ฝรั่งก็รู้จักและผลิตได้เช่นกัน ดังนั้น เขาก็เรียกกระดาษตามรูปพรรณที่เขาเห็นว่า “GREY BOARD” เกรย์ (Grey) แปลว่า “สีเทา” บอร์ด (Board) แปลตรงตัวว่า “แผ่นแข็งๆ” ก็สามารถแทนลักษณะนามว่า กระดาษแข็งสีเทา นั่นเอง อีกนัยหนึ่ง กระดาษจั่วปัง (纸板) เป็นคำจากภาษาจีน จั้ว (纸) แปลว่า “กระดาษ” ปัง (板) แปลว่า “แข็ง” รวมคำกันเป็นคำว่า “กระดาษแข็ง” สมัยก่อนในเมืองจีน โรงงานผลิตสินค้าเครื่องสำอางค์จะนำเอากระดาษแข็งชนิดนี้มาดัดแปลงทำเป็นกล่อง สำหรับใส่แป้งขาว (สมัยนี้ก็เทียบได้กับแป้งพลับ ที่คุณผู้หญิงใช้กันอยู่) สำหรับทาหน้าของผู้หญิง ไม่รู้จะมีคนรุ่นนี้จะทันเห็นของแบบนี้บ้างไม๊นะครับ เลยเป็นที่มาของคำว่า “จั่วปัง” ในภาษาจีน นานวันผ่านไป เมืองไทยก็มีการนำเอากระดาษแข็งแบบนี้มาทำเป็นกล่อง แต่ยังไม่มีคำเรียกเฉพาะ ก็เลยเรียกทับศัพท์ไปว่า เป็นกล่องจั่วปัง จึงกลายเป็นสรรพนามสำหรับกล่องชนิดนี้ไปแล้ว ซึ่งเรียกขานปุ๊บ คนก็จะเข้าใจกันปั๊บ

กระดาษจั่วปังคือ

กระดาษที่จะใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกล่องกระดาษแข็ง หรือที่มาของคำว่า กล่องจั่วปัง ในภาษาการค้าเรียกกันทั่วไปเป็นหมายเลข เช่น กระดาษแข็งเบอร์ 8, เบอร์ 10, เบอร์ 12, เบอร์ 16, เบอร์ 20, เบอร์ 24, เบอร์ 32, เบอร์ 38, เบอร์ 42 การเรียกขานเช่นนี้อาจเป็นที่คุ้นเคยรู้จักกันในหมู่ร้านค้ากระดาษ แต่ควรรู้ถึงลักษณะนามที่แท้จริงและถูกต้องกว่า คือ การเรียกขานตามน้ำหนัก ซึ่งจะเป็นข้อมูลเปรียบเทียบดังต่อไปนี้

  • N0.8   หนา 0.670 mm. หนัก 420g/แผ่น
  • N0.10 หนา 0.816 mm. หนัก 510g/แผ่น
  • N0.12 หนา 1.03 mm. หนัก 640g/แผ่น
  • N0.16 หนา 1.31 mm. หนัก 820g/แผ่น
  • N0.20 หนา 1.60 mm. หนัก 1000g/แผ่น
  • N0.24 หนา 2.06 mm. หนัก 1290g/แผ่น
  • N0.28 หนา 2.40 mm. หนัก 1500g/แผ่น
  • N0.32 หนา 2.67 mm. หนัก 1670g/แผ่น
  • N0.38 หนา 2.91 mm. หนัก 1820g/แผ่น
  • N0.42 หนา 3.37 mm. หนัก 2110g/แผ่น

ความสัมพันธ์ระหว่างความหนาของกระดาษจั่วปัง กับน้ำหนักของแผ่นกระดาษ

ด้วยข้อมูลที่แอดมินค้นหามาโพสให้อ่าน คุณๆ คงอยากรู้ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร ผู้ผลิตในทวีปยุโรป และอเมริกาจะใช้หน่วยมิลลิกรัม ซึ่งเป็นมาตราน้ำหนักเป็นตัวกำหนดขนาดความหนาของกระดาษจั่วปัง แล้วเรียกตามน้ำหนักนั้นๆเช่น กระดาษจั่วปังเบอร์ 28 ว่า เกรย์บอร์ด Greyboard (หรือชิปบอร์ด Chipboard) 1500g. แต่ในฟากฝั่งผู้ผลิตในประเทศจีนจะใช้หน่วยความหนาของกระดาษเป็นตัวเรียก เช่น กระดาษเกรย์บอร์ด 2.40 ม.ม. ซึ่งโดยมากผู้ผลิตจีนมักจะเข้าใจกันทั่วไปเลยว่า คือ น้ำหนัก 1500g. หรือบางครั้งพวกเขาจะเรียกทั้งความหนาและน้ำหนักไปในคราวเดียวกัน ซึ่งผู้ผลิตเหล่านี้เข้าใจถึงโครงสร้างหรือน้ำหนักกระดาษจั่วปังเหล่านี้อย่างดี ถึงแม้จำไม่ได้ เพียงเขาเคาะเครื่องคิดเลขเดี๋ยวเดียวก็บอกออกมาได้แล้ว ซึ่งแอดมินเคยได้รบการแนะนำจากเพื่อนที่เป็นเจ้าหน้าที่ด้านการตลาดของผู้ผลิตกระดาษจั่วปังในจีนว่า ใช้สูตรในการคำนวณความหนา สัมพันธ์กับน้ำหนักของกระดาษจั่วปัง ดังนี้:

ความหนา (หน่วยเป็น มิลลิเมตร : mm. (ม.ม.)) = น้ำหนัก (หน่วยเป็น กรัมต่อตารางเมตร (gsm.) x 1.55 / 1000
ตัวอย่างเช่น : กระดาษที่มีน้ำหนัก 1290 gsm. | ความหนาจะที่ได้คือ
1290 x 1.55 / 1000 = 1.995 mm. หรือ 2 mm. นั้นเอง

ขนาดการบรรจุ มักจะเรียกขานกันเป็นก้อน หรือบางครั้งก็เรียกเป็นรีม แต่ในหนึ่งก้อนหนึ่งรีมนั้น จำนวนแผ่นจะไม่เท่ากัน การจัดบรรจุนี้ โรงงานผู้ผลิตจะกำหนดขนาดบรรจุเป็นน้ำหนักต่อกิโลกรัม โดยให้แต่ละก้อนมีน้ำหนักประมาณ 45 กิโลกรัม จากที่เคยสำรวจข้อมูลไว้ พบว่า:

  • N0.8   หนา 0.67 mm. มีจำนวนก้อนละประมาณ 105-110 แผ่น
  • N0.10 หนา 0.816 mm. มีจำนวนก้อนละประมาณ 90-95 แผ่น
  • N0.12 หนา 1.03 mm. มีจำนวนก้อนละประมาณ 70-79 แผ่น
  • N0.16 หนา 1.31 mm. มีจำนวนก้อนละประมาณ 55-60แผ่น
  • N0.20 หนา 1.60 mm. มีจำนวนก้อนละประมาณ 45-48แผ่น
  • N0.24 หนา 2.06 mm. มีจำนวนก้อนละประมาณ 35-38แผ่น
  • N0.28 หนา 2.40 mm. มีจำนวนก้อนละประมาณ 30-33แผ่น
  • N0.32 หนา 2.67 mm. มีจำนวนก้อนละประมาณ 27-30แผ่น
  • N0.38 หนา 3.10 mm. (แกรมนี้มักจะเป็นของนำเข้าจากต่างประเทศ หรืออาจต้องปะกบขึ้นตามคำสั่งผลิตพิเศษ ซึ่งมักมีข้อกำหนดการสั่งขั้นต่ำในการผลิตด้วย ซึ่งการปะกบอาจต้องใช้กระดาษความหนาต่างชนิดมาทากาวปะกับติดกัน เช่น ในความหนา 3.10 mm. นี้ แอดมินเคยทำด้วยการใช้ No.16 มาปะกบกับ No.20 เพื่อให้ได้ความหนา 3.0 mm. ฯลฯ)
  • N0.42 หนา 3.40 mm. แกรมนี้มักจะเป็นของนำเข้าจากต่างประเทศ หรืออาจต้องปะกบขึ้นตามคำสั่งผลิตพิเศษ ซึ่งมักมีข้อกำหนดการสั่งขั้นต่ำในการผลิตด้วย ในบ้านเราพบเห็นไม่บ่อยนัก กรรมวิธีขึ้นอยู่กับเทคนิคของผู้ผลิตแปรรูปแต่ละราย)

นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการนำกระดาษจั่วปัง ไปประยุกต์ใช้ในงานแบบอื่นๆ อีกเช่น
ใช้เป็นแกนเพื่อยึดเกาะ การใช้กระดาษจั่วปังเป็นแกนเพื่อปะกบสิ่งพิมพ์ หรือกระดาษปิดผิวเพื่อเสริมให้เป็นป้ายแข็งแรงในการแสดงผลหรือเป็นงานที่พับเป็นท่อน เช่นปกแข็งที่ใช้ร่วมกับกล่องจั่วปังทำเป็นกล่องแม่เหล็ก หรือขาตั้งปฏิทินตั้งโต๊ะก็จัดเป็นงานในประเภทนี้
ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นกล่อง ซึ่งเป็นหนึ่งในงานหลักที่จะกระดาษจั่วปังเป็นแกนภายใน หุ้มด้วยผิวที่เป็นกระดาษแฟนซีสวยงาม หรือกระดาษพิมพ์ผิวสี ตกแต่งเพื่อความสวยงามและมาห่อหุ้มผิวภายนอกอีกที
ใช้ในการทำต้นแบบ ด้วยคุณสมบัติความแข็งแกร่ง จึงถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำต้นแบบ เช่น ทำโมเดลต่างๆ ซึ่งสามารถตัดด้วยมีดที่แหลมคม เป็นชิ้นส่วนประกอบได้ง่ายดาย

คุณสมบัติเพิ่มเติม :

ความชื้นสัมพัทธ์มีผลต่อความแกร่งของกระดาษจั่วปัง (กระดาษแข็ง)
ตามที่พวกเราได้อ่านบทความจากข้างบนจะทำให้ทราบว่า การผลิตต้องผ่านกระบวนผลิตด้วยนํ้า (ปริมาณมหาศาล) เพื่อนำเอาเยื่อที่ผ่านการปรุงแต่งมาโรยลงบนสายพานตะแกรง มีการกำหนดความหนาของชั้นที่ต้องการผลิตว่าเท่าไร และอบแห้งจนเป็นกระดาษแผ่นแข็งที่เราเห็นกัน ด้านความหนาแอดมินจะได้พูดในหัวข้อต่อไปเรื่อง ความหนาของกระดาษจั่วปัง กลับมาเรื่องความชื้นสัมพัทธ์ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับความแกร่ง หรือความแข็ง กล่าวคือ หากมีปริมาณความชื้นในกระดาษมาก จะทำให้กระดาษมีความอ่อนตัว ในทางตรงข้าม หากมีปริมาณความชื้นในกระดาษน้อย จะผลให้กระดาษมีความแกร่งหรือความแข็งดีกว่า ดังนั้น กระดาษเมื่อถูกผลิตเสร็จเป็นสินค้าแล้ว การเก็บรักษาจึงมีความสำคัญเช่นกัน

สรุป ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นลักษณะภายนอกที่มองเห็นได้ของกระดาษจั่วปัง หรือ Greyboard ซึ่งผมจะค่อยๆ เล่าและนำไปสู่เรื่องราวของกล่องกระดาษแข็งในโพสต่อๆ ไปครับ

กระดาษจั่วปังคือ
กระดาษจั่วปังคือ


tags: #greyboard, #Greyboard, #Grey Board, #rigidbox, #Rigidbox, #RigidBox, #Casebox, #casebox, #SetupBox, #Set-upBox, #setupbox, #setup box, #กล่องจั่วปัง, #กล่องกระดาษแข็ง, #กระดาษแข็งสีเทา, # กระดาษจั่วปัง, #กระดาษเกรย์บอร์ด, #กล่องจั่วปังหุ้มด้วยกระดาษอัดลาย, #กล่องจั่วปังหุ้มด้วยกระดาษเคลือบผิวอย่างดี, #กล่องกระดาษแข็งหุ้มด้วยกระดาษอัดลาย, #กล่องกระดาษแข็งหุ้มด้วยกระดาษเคลือบอย่างดี, #ผลิตกล่องจั่วปัง, #ผลิตกล่องจั่วปังที่ไหนดี, #ผลิตกล่องกระดาษแข็งที่ไหนดี, #ผลิตกล่องกระดาษแข็ง, #รับผลิตกล่องจั่วปัง, #รับผลิตกล่องกระดาษแข็ง, #รับผลิตขาตั้งปฏิทินตั้งโต๊ะ, #ขาตั้งปฏิทินตั้งโต๊ะ, #ปกแฟ้มติดสันเหล็ก, #งานหุ้มปกแข็งจั่วปัง,