กระดาษจั่วปัง คืออะไร

กระดาษจั่วปังคือ กระดาษที่ถูกใช้งานพิมพ์ เขียนและผ่านใช้งานมาแล้ว เมื่อถูกทิ้งเป็นเศษกระดาษจากแหล่งต่างๆ ถูกรวบรวมและนำมาใช้เป็นวัตถุดิบของโรงงานผลิตกระดาษจั่วปังนำมาแปรรูป พื่อนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง เรียกกระบวนการนี้ว่า “ การรีไซเคิล (Recycle) “ การนำกระดาษที่ผ่านการใช้งานนี้มาปรับแต่งด้วยการแช่น้ำ บด ปั่นแหลก ให้เป็นอณูชิ้นเล็กที่สุด เพื่อกำจัดพื้นผิวภายนอก เช่น เคมี หมึก น้ำยาต่างๆ แล้วกรองออก เหลือเอาเพียงเยื่อกระดาษ ที่ผ่านการแช่น้ำจนยุ่ยแล้วนำเอาเยื่อเหล่านี้มาปรับใส่สารเติมแต่งบางอย่างเพื่อให้มีความคงตัวเพิ่มและแข็งตัวได้ นำมาผลิตเป็นกระดาษเพื่อการใช้ซ้ำอีกครั้ง มักจะเห็นเป็นแผ่นกระดาษแข็งๆ สีเทาๆ นั่นแหละครับ กระดาษแบบนี้ฝรั่งก็รู้จักและผลิตได้เช่นกัน ดังนั้น เขาก็เรียกกระดาษตามรูปพรรณที่เขาเห็นว่า “GREY BOARD” เกรย์ (Grey) แปลว่า “สีเทา” บอร์ด (Board) แปลตรงตัวว่า “แผ่นแข็งๆ” ก็สามารถแทนลักษณะนามว่า กระดาษแข็งสีเทา นั่นเอง อีกนัยหนึ่ง กระดาษจั่วปัง (纸板) เป็นคำจากภาษาจีน จั้ว (纸) แปลว่า “กระดาษ” ปัง (板) แปลว่า “แข็ง” รวมคำกันเป็นคำว่า “กระดาษแข็ง” สมัยก่อนในเมืองจีน โรงงานผลิตสินค้าเครื่องสำอางค์จะนำเอากระดาษแข็งชนิดนี้มาดัดแปลงทำเป็นกล่อง สำหรับใส่แป้งขาว (สมัยนี้ก็เทียบได้กับแป้งพลับ ที่คุณผู้หญิงใช้กันอยู่) สำหรับทาหน้าของผู้หญิง ไม่รู้จะมีคนรุ่นนี้จะทันเห็นของแบบนี้บ้างไม๊นะครับ เลยเป็นที่มาของคำว่า “จั่วปัง” ในภาษาจีน นานวันผ่านไป เมืองไทยก็มีการนำเอากระดาษแข็งแบบนี้มาทำเป็นกล่อง แต่ยังไม่มีคำเรียกเฉพาะ ก็เลยเรียกทับศัพท์ไปว่า เป็นกล่องจั่วปัง จึงกลายเป็นสรรพนามสำหรับกล่องชนิดนี้ไปแล้ว ซึ่งเรียกขานปุ๊บ คนก็จะเข้าใจกันปั๊บ

กระดาษจั่วปังคือ

กระดาษที่จะใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกล่องกระดาษแข็ง หรือที่มาของคำว่า กล่องจั่วปัง ในภาษาการค้าเรียกกันทั่วไปเป็นหมายเลข เช่น กระดาษแข็งเบอร์ 8, เบอร์ 10, เบอร์ 12, เบอร์ 16, เบอร์ 20, เบอร์ 24, เบอร์ 32, เบอร์ 38, เบอร์ 42 การเรียกขานเช่นนี้อาจเป็นที่คุ้นเคยรู้จักกันในหมู่ร้านค้ากระดาษ แต่ควรรู้ถึงลักษณะนามที่แท้จริงและถูกต้องกว่า คือ การเรียกขานตามน้ำหนัก ซึ่งจะเป็นข้อมูลเปรียบเทียบดังต่อไปนี้

  • N0.8   หนา 0.670 mm. หนัก 420g/แผ่น
  • N0.10 หนา 0.816 mm. หนัก 510g/แผ่น
  • N0.12 หนา 1.03 mm. หนัก 640g/แผ่น
  • N0.16 หนา 1.31 mm. หนัก 820g/แผ่น
  • N0.20 หนา 1.60 mm. หนัก 1000g/แผ่น
  • N0.24 หนา 2.06 mm. หนัก 1290g/แผ่น
  • N0.28 หนา 2.40 mm. หนัก 1500g/แผ่น
  • N0.32 หนา 2.67 mm. หนัก 1670g/แผ่น
  • N0.38 หนา 2.91 mm. หนัก 1820g/แผ่น
  • N0.42 หนา 3.37 mm. หนัก 2110g/แผ่น

ความสัมพันธ์ระหว่างความหนาของกระดาษจั่วปัง กับน้ำหนักของแผ่นกระดาษ

ด้วยข้อมูลที่แอดมินค้นหามาโพสให้อ่าน คุณๆ คงอยากรู้ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร ผู้ผลิตในทวีปยุโรป และอเมริกาจะใช้หน่วยมิลลิกรัม ซึ่งเป็นมาตราน้ำหนักเป็นตัวกำหนดขนาดความหนาของกระดาษจั่วปัง แล้วเรียกตามน้ำหนักนั้นๆเช่น กระดาษจั่วปังเบอร์ 28 ว่า เกรย์บอร์ด Greyboard (หรือชิปบอร์ด Chipboard) 1500g. แต่ในฟากฝั่งผู้ผลิตในประเทศจีนจะใช้หน่วยความหนาของกระดาษเป็นตัวเรียก เช่น กระดาษเกรย์บอร์ด 2.40 ม.ม. ซึ่งโดยมากผู้ผลิตจีนมักจะเข้าใจกันทั่วไปเลยว่า คือ น้ำหนัก 1500g. หรือบางครั้งพวกเขาจะเรียกทั้งความหนาและน้ำหนักไปในคราวเดียวกัน ซึ่งผู้ผลิตเหล่านี้เข้าใจถึงโครงสร้างหรือน้ำหนักกระดาษจั่วปังเหล่านี้อย่างดี ถึงแม้จำไม่ได้ เพียงเขาเคาะเครื่องคิดเลขเดี๋ยวเดียวก็บอกออกมาได้แล้ว ซึ่งแอดมินเคยได้รบการแนะนำจากเพื่อนที่เป็นเจ้าหน้าที่ด้านการตลาดของผู้ผลิตกระดาษจั่วปังในจีนว่า ใช้สูตรในการคำนวณความหนา สัมพันธ์กับน้ำหนักของกระดาษจั่วปัง ดังนี้:

ความหนา (หน่วยเป็น มิลลิเมตร : mm. (ม.ม.)) = น้ำหนัก (หน่วยเป็น กรัมต่อตารางเมตร (gsm.) x 1.55 / 1000
ตัวอย่างเช่น : กระดาษที่มีน้ำหนัก 1290 gsm. | ความหนาจะที่ได้คือ
1290 x 1.55 / 1000 = 1.995 mm. หรือ 2 mm. นั้นเอง

ขนาดการบรรจุ มักจะเรียกขานกันเป็นก้อน หรือบางครั้งก็เรียกเป็นรีม แต่ในหนึ่งก้อนหนึ่งรีมนั้น จำนวนแผ่นจะไม่เท่ากัน การจัดบรรจุนี้ โรงงานผู้ผลิตจะกำหนดขนาดบรรจุเป็นน้ำหนักต่อกิโลกรัม โดยให้แต่ละก้อนมีน้ำหนักประมาณ 45 กิโลกรัม จากที่เคยสำรวจข้อมูลไว้ พบว่า:

  • N0.8   หนา 0.67 mm. มีจำนวนก้อนละประมาณ 105-110 แผ่น
  • N0.10 หนา 0.816 mm. มีจำนวนก้อนละประมาณ 90-95 แผ่น
  • N0.12 หนา 1.03 mm. มีจำนวนก้อนละประมาณ 70-79 แผ่น
  • N0.16 หนา 1.31 mm. มีจำนวนก้อนละประมาณ 55-60แผ่น
  • N0.20 หนา 1.60 mm. มีจำนวนก้อนละประมาณ 45-48แผ่น
  • N0.24 หนา 2.06 mm. มีจำนวนก้อนละประมาณ 35-38แผ่น
  • N0.28 หนา 2.40 mm. มีจำนวนก้อนละประมาณ 30-33แผ่น
  • N0.32 หนา 2.67 mm. มีจำนวนก้อนละประมาณ 27-30แผ่น
  • N0.38 หนา 3.10 mm. (แกรมนี้มักจะเป็นของนำเข้าจากต่างประเทศ หรืออาจต้องปะกบขึ้นตามคำสั่งผลิตพิเศษ ซึ่งมักมีข้อกำหนดการสั่งขั้นต่ำในการผลิตด้วย ซึ่งการปะกบอาจต้องใช้กระดาษความหนาต่างชนิดมาทากาวปะกับติดกัน เช่น ในความหนา 3.10 mm. นี้ แอดมินเคยทำด้วยการใช้ No.16 มาปะกบกับ No.20 เพื่อให้ได้ความหนา 3.0 mm. ฯลฯ)
  • N0.42 หนา 3.40 mm. แกรมนี้มักจะเป็นของนำเข้าจากต่างประเทศ หรืออาจต้องปะกบขึ้นตามคำสั่งผลิตพิเศษ ซึ่งมักมีข้อกำหนดการสั่งขั้นต่ำในการผลิตด้วย ในบ้านเราพบเห็นไม่บ่อยนัก กรรมวิธีขึ้นอยู่กับเทคนิคของผู้ผลิตแปรรูปแต่ละราย)

นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการนำกระดาษจั่วปัง ไปประยุกต์ใช้ในงานแบบอื่นๆ อีกเช่น
ใช้เป็นแกนเพื่อยึดเกาะ การใช้กระดาษจั่วปังเป็นแกนเพื่อปะกบสิ่งพิมพ์ หรือกระดาษปิดผิวเพื่อเสริมให้เป็นป้ายแข็งแรงในการแสดงผลหรือเป็นงานที่พับเป็นท่อน เช่นปกแข็งที่ใช้ร่วมกับกล่องจั่วปังทำเป็นกล่องแม่เหล็ก หรือขาตั้งปฏิทินตั้งโต๊ะก็จัดเป็นงานในประเภทนี้
ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นกล่อง ซึ่งเป็นหนึ่งในงานหลักที่จะกระดาษจั่วปังเป็นแกนภายใน หุ้มด้วยผิวที่เป็นกระดาษแฟนซีสวยงาม หรือกระดาษพิมพ์ผิวสี ตกแต่งเพื่อความสวยงามและมาห่อหุ้มผิวภายนอกอีกที
ใช้ในการทำต้นแบบ ด้วยคุณสมบัติความแข็งแกร่ง จึงถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำต้นแบบ เช่น ทำโมเดลต่างๆ ซึ่งสามารถตัดด้วยมีดที่แหลมคม เป็นชิ้นส่วนประกอบได้ง่ายดาย

คุณสมบัติเพิ่มเติม :

ความชื้นสัมพัทธ์มีผลต่อความแกร่งของกระดาษจั่วปัง (กระดาษแข็ง)
ตามที่พวกเราได้อ่านบทความจากข้างบนจะทำให้ทราบว่า การผลิตต้องผ่านกระบวนผลิตด้วยนํ้า (ปริมาณมหาศาล) เพื่อนำเอาเยื่อที่ผ่านการปรุงแต่งมาโรยลงบนสายพานตะแกรง มีการกำหนดความหนาของชั้นที่ต้องการผลิตว่าเท่าไร และอบแห้งจนเป็นกระดาษแผ่นแข็งที่เราเห็นกัน ด้านความหนาแอดมินจะได้พูดในหัวข้อต่อไปเรื่อง ความหนาของกระดาษจั่วปัง กลับมาเรื่องความชื้นสัมพัทธ์ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับความแกร่ง หรือความแข็ง กล่าวคือ หากมีปริมาณความชื้นในกระดาษมาก จะทำให้กระดาษมีความอ่อนตัว ในทางตรงข้าม หากมีปริมาณความชื้นในกระดาษน้อย จะผลให้กระดาษมีความแกร่งหรือความแข็งดีกว่า ดังนั้น กระดาษเมื่อถูกผลิตเสร็จเป็นสินค้าแล้ว การเก็บรักษาจึงมีความสำคัญเช่นกัน

สรุป ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นลักษณะภายนอกที่มองเห็นได้ของกระดาษจั่วปัง หรือ Greyboard ซึ่งผมจะค่อยๆ เล่าและนำไปสู่เรื่องราวของกล่องกระดาษแข็งในโพสต่อๆ ไปครับ

กระดาษจั่วปังคือ
กระดาษจั่วปังคือ


tags: #greyboard, #Greyboard, #Grey Board, #rigidbox, #Rigidbox, #RigidBox, #Casebox, #casebox, #SetupBox, #Set-upBox, #setupbox, #setup box, #กล่องจั่วปัง, #กล่องกระดาษแข็ง, #กระดาษแข็งสีเทา, # กระดาษจั่วปัง, #กระดาษเกรย์บอร์ด, #กล่องจั่วปังหุ้มด้วยกระดาษอัดลาย, #กล่องจั่วปังหุ้มด้วยกระดาษเคลือบผิวอย่างดี, #กล่องกระดาษแข็งหุ้มด้วยกระดาษอัดลาย, #กล่องกระดาษแข็งหุ้มด้วยกระดาษเคลือบอย่างดี, #ผลิตกล่องจั่วปัง, #ผลิตกล่องจั่วปังที่ไหนดี, #ผลิตกล่องกระดาษแข็งที่ไหนดี, #ผลิตกล่องกระดาษแข็ง, #รับผลิตกล่องจั่วปัง, #รับผลิตกล่องกระดาษแข็ง, #รับผลิตขาตั้งปฏิทินตั้งโต๊ะ, #ขาตั้งปฏิทินตั้งโต๊ะ, #ปกแฟ้มติดสันเหล็ก, #งานหุ้มปกแข็งจั่วปัง,